จี้รัฐแก้ไขโครงการนำร่องโซลาร์รูฟท็อป
2016/03/01 3:54 PM

กรุงเทพฯ 1 มี.ค. – เอกชน-ภาคประชาชนติงโครงการนำร่องโซลาร์รูฟท้อปภาครัฐ ไม่จริงใจในการส่งเสริม ควรเร่งแก้ปัญหาภาษี Net-metering ด้าน รมว.พลังงาน ยืนยันต้องทดสอบเพื่อนป้องกันความมั่นคงของระบบที่อาจได้รับผลกระทบจากไฟฟ้าย้อนกลับ
พล.อ. อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน ยืนยันว่า กระทรวงฯมีนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าบนหลังคาบ หรือ โซลาร์รูฟท็อปเสรี แต่การที่ เห็นชอบให้นำร่อง100 เมกะวัตต์ เป็นการผลิตเพื่อใช้เองไม่สามารถขายไฟฟ้าเข้าระบบได้นั้น ก็เพื่อให้ทดสอบได้ว่า ระบบไม่มีปัญหา สามารถใช้มิเตอร์เดียว และป้องกันระบบไฟฟ้าย้อนกลับ ซึ่งจะต้องดูเรื่องความมั่นคง หากในอนาคต มีความพร้อม ทางกระทรวงฯก็จะเปิดเสรี ซึ่งก็อาจจะเปิดให้ขายไฟฟ้าเข้าระบบได้ โดยการกำหนดปริมาณนำร่องนั้น ก็เชื่อมั่นว่าจะมีปัญหาเรื่องโควต้า เพื่อเรียกรับเงินเหมือนในข้อครหาในอดีต
นางสาวสุวพร ศิริคุณ กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กระทรวงพลังงานประกาศถึงโครงการนำร่องการส่งเสริมโซล่าร์รูฟท๊อปเสรีผลิตเพื่อใช้เอง จำนวน 100 เมกะวัตต์ ที่ทำให้เกิดความสงสัย อะไรคือนำร่อง และเสรี แต่มีจำกัดเมกะวัตต์ โดยโครงการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรี เป็นข้อเสนอจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เสนอให้กระทรวงพลังงานกำหนดแนวทางปฏิบัติในลักษณะโครงการนำร่อง ที่เน้นการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองเป็นหลัก และขายไฟฟ้าส่วนเกินให้แก่การไฟฟ้าให้น้อยที่สุด ในราคารับซื้อไฟฟ้าที่ไม่ก่อภาระต่อประชาชน (ระบบ Net-metering)
แต่สำหรับโครงการนำร่องของกระทรวงพลังงาน ไม่เป็นไปตามหลักการดังกล่าว โดยจะไม่มีการดำเนินการในเรื่อง net-metering เนื่องจากติดระเบียบการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้า ที่ไม่อนุญาตให้มีกระแสไฟฟ้าไหลย้อนเข้าสู่ระบบ โครงการนำร่องจึงเป็นเพียงการติดตั้งผลิตเพื่อใช้เอง เพื่อเก็บข้อมูลเพื่อประเมินผลเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันการติดตั้งระบบโซล่าร์รูฟผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองในการลดค่าไฟได้เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว เพราะมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน คืนทุนในเวลา 7-8 ปี และจากมาตรการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ลงทุนในมาตรการด้านการประหยัดพลังงาน และพลังงานหมุนเวียน ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สูงสุดถึง 50% ของเงินลงทุน ยิ่งทำให้การคืนทุนเร็วขึ้น ใน 4-5 ปี โดยสามารถจัดการไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลย้อนเข้าระบบ
นางสาวสุวพร กล่าวว่า ปัญหาหลักของการใช้ระบบ Net-metering นั้น ก็คือปัญหาในการจัดเก็บภาษี ที่หน่วยงานด้านภาษีไม่เห็นด้วยกับการเก็บภาษีในอัตราสุทธิ (ของหน่วยซื้อขายไฟฟ้าที่หักลบสุทธิแล้ว) โดยเห็นว่าทุกหน่วยที่มีการซื้อหรือขาย ควรจะมีการจ่ายภาษีซื้อหรือขายในสถานะนั้นๆ จึงควรแก้ปัญหานี้ รวมทั้งแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคทั้งในเชิงด้านเทคนิคและการปฏิบัติอื่น มีการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จที่ชัดเจน จึงจะเป็นผลให้เกิดการดำเนินการของระบบโซล่าร์รูฟเสรีได้อย่างแท้จริง
พล.อ. อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน ยืนยันว่า กระทรวงฯมีนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าบนหลังคาบ หรือ โซลาร์รูฟท็อปเสรี แต่การที่ เห็นชอบให้นำร่อง100 เมกะวัตต์ เป็นการผลิตเพื่อใช้เองไม่สามารถขายไฟฟ้าเข้าระบบได้นั้น ก็เพื่อให้ทดสอบได้ว่า ระบบไม่มีปัญหา สามารถใช้มิเตอร์เดียว และป้องกันระบบไฟฟ้าย้อนกลับ ซึ่งจะต้องดูเรื่องความมั่นคง หากในอนาคต มีความพร้อม ทางกระทรวงฯก็จะเปิดเสรี ซึ่งก็อาจจะเปิดให้ขายไฟฟ้าเข้าระบบได้ โดยการกำหนดปริมาณนำร่องนั้น ก็เชื่อมั่นว่าจะมีปัญหาเรื่องโควต้า เพื่อเรียกรับเงินเหมือนในข้อครหาในอดีต
นางสาวสุวพร ศิริคุณ กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กระทรวงพลังงานประกาศถึงโครงการนำร่องการส่งเสริมโซล่าร์รูฟท๊อปเสรีผลิตเพื่อใช้เอง จำนวน 100 เมกะวัตต์ ที่ทำให้เกิดความสงสัย อะไรคือนำร่อง และเสรี แต่มีจำกัดเมกะวัตต์ โดยโครงการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรี เป็นข้อเสนอจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เสนอให้กระทรวงพลังงานกำหนดแนวทางปฏิบัติในลักษณะโครงการนำร่อง ที่เน้นการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองเป็นหลัก และขายไฟฟ้าส่วนเกินให้แก่การไฟฟ้าให้น้อยที่สุด ในราคารับซื้อไฟฟ้าที่ไม่ก่อภาระต่อประชาชน (ระบบ Net-metering)
แต่สำหรับโครงการนำร่องของกระทรวงพลังงาน ไม่เป็นไปตามหลักการดังกล่าว โดยจะไม่มีการดำเนินการในเรื่อง net-metering เนื่องจากติดระเบียบการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้า ที่ไม่อนุญาตให้มีกระแสไฟฟ้าไหลย้อนเข้าสู่ระบบ โครงการนำร่องจึงเป็นเพียงการติดตั้งผลิตเพื่อใช้เอง เพื่อเก็บข้อมูลเพื่อประเมินผลเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันการติดตั้งระบบโซล่าร์รูฟผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองในการลดค่าไฟได้เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว เพราะมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน คืนทุนในเวลา 7-8 ปี และจากมาตรการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ลงทุนในมาตรการด้านการประหยัดพลังงาน และพลังงานหมุนเวียน ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สูงสุดถึง 50% ของเงินลงทุน ยิ่งทำให้การคืนทุนเร็วขึ้น ใน 4-5 ปี โดยสามารถจัดการไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลย้อนเข้าระบบ
นางสาวสุวพร กล่าวว่า ปัญหาหลักของการใช้ระบบ Net-metering นั้น ก็คือปัญหาในการจัดเก็บภาษี ที่หน่วยงานด้านภาษีไม่เห็นด้วยกับการเก็บภาษีในอัตราสุทธิ (ของหน่วยซื้อขายไฟฟ้าที่หักลบสุทธิแล้ว) โดยเห็นว่าทุกหน่วยที่มีการซื้อหรือขาย ควรจะมีการจ่ายภาษีซื้อหรือขายในสถานะนั้นๆ จึงควรแก้ปัญหานี้ รวมทั้งแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคทั้งในเชิงด้านเทคนิคและการปฏิบัติอื่น มีการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จที่ชัดเจน จึงจะเป็นผลให้เกิดการดำเนินการของระบบโซล่าร์รูฟเสรีได้อย่างแท้จริง
นายดุสิต เครืองาม ประธานสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย ระบุก่อนหน้านี้ว่าข้อมูลที่กระทรวงพลังงานสื่อสารที่จะไม่รับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินที่เข้าระบบนั้น ทางกระทรวงพลังงานจำเป็นต้องแก้ไขก่อนที่จะเสนอโครงการนำร่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ในวันที่ 11 มีนาคมนี้-สำนักข่าวไทย