Thursday, March 17, 2016

เศรษฐกิจ

จี้รัฐแก้ไขโครงการนำร่องโซลาร์รูฟท็อป

จี้รัฐแก้ไขโครงการนำร่องโซลาร์รูฟท็อป
กรุงเทพฯ 1 มี.ค. – เอกชน-ภาคประชาชนติงโครงการนำร่องโซลาร์รูฟท้อปภาครัฐ ไม่จริงใจในการส่งเสริม ควรเร่งแก้ปัญหาภาษี Net-metering ด้าน รมว.พลังงาน ยืนยันต้องทดสอบเพื่อนป้องกันความมั่นคงของระบบที่อาจได้รับผลกระทบจากไฟฟ้าย้อนกลับ
พล.อ. อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน ยืนยันว่า กระทรวงฯมีนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าบนหลังคาบ หรือ โซลาร์รูฟท็อปเสรี แต่การที่ เห็นชอบให้นำร่อง100 เมกะวัตต์ เป็นการผลิตเพื่อใช้เองไม่สามารถขายไฟฟ้าเข้าระบบได้นั้น ก็เพื่อให้ทดสอบได้ว่า ระบบไม่มีปัญหา สามารถใช้มิเตอร์เดียว และป้องกันระบบไฟฟ้าย้อนกลับ ซึ่งจะต้องดูเรื่องความมั่นคง หากในอนาคต มีความพร้อม ทางกระทรวงฯก็จะเปิดเสรี ซึ่งก็อาจจะเปิดให้ขายไฟฟ้าเข้าระบบได้ โดยการกำหนดปริมาณนำร่องนั้น ก็เชื่อมั่นว่าจะมีปัญหาเรื่องโควต้า เพื่อเรียกรับเงินเหมือนในข้อครหาในอดีต
นางสาวสุวพร ศิริคุณ กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กระทรวงพลังงานประกาศถึงโครงการนำร่องการส่งเสริมโซล่าร์รูฟท๊อปเสรีผลิตเพื่อใช้เอง จำนวน 100 เมกะวัตต์ ที่ทำให้เกิดความสงสัย อะไรคือนำร่อง และเสรี แต่มีจำกัดเมกะวัตต์ โดยโครงการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรี เป็นข้อเสนอจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เสนอให้กระทรวงพลังงานกำหนดแนวทางปฏิบัติในลักษณะโครงการนำร่อง ที่เน้นการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองเป็นหลัก และขายไฟฟ้าส่วนเกินให้แก่การไฟฟ้าให้น้อยที่สุด ในราคารับซื้อไฟฟ้าที่ไม่ก่อภาระต่อประชาชน (ระบบ Net-metering)
แต่สำหรับโครงการนำร่องของกระทรวงพลังงาน ไม่เป็นไปตามหลักการดังกล่าว โดยจะไม่มีการดำเนินการในเรื่อง net-metering เนื่องจากติดระเบียบการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้า ที่ไม่อนุญาตให้มีกระแสไฟฟ้าไหลย้อนเข้าสู่ระบบ โครงการนำร่องจึงเป็นเพียงการติดตั้งผลิตเพื่อใช้เอง เพื่อเก็บข้อมูลเพื่อประเมินผลเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันการติดตั้งระบบโซล่าร์รูฟผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองในการลดค่าไฟได้เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว เพราะมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน คืนทุนในเวลา 7-8 ปี และจากมาตรการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ลงทุนในมาตรการด้านการประหยัดพลังงาน และพลังงานหมุนเวียน ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สูงสุดถึง 50% ของเงินลงทุน ยิ่งทำให้การคืนทุนเร็วขึ้น ใน 4-5 ปี โดยสามารถจัดการไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลย้อนเข้าระบบ
นางสาวสุวพร กล่าวว่า ปัญหาหลักของการใช้ระบบ Net-metering นั้น ก็คือปัญหาในการจัดเก็บภาษี ที่หน่วยงานด้านภาษีไม่เห็นด้วยกับการเก็บภาษีในอัตราสุทธิ (ของหน่วยซื้อขายไฟฟ้าที่หักลบสุทธิแล้ว) โดยเห็นว่าทุกหน่วยที่มีการซื้อหรือขาย ควรจะมีการจ่ายภาษีซื้อหรือขายในสถานะนั้นๆ จึงควรแก้ปัญหานี้ รวมทั้งแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคทั้งในเชิงด้านเทคนิคและการปฏิบัติอื่น มีการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จที่ชัดเจน จึงจะเป็นผลให้เกิดการดำเนินการของระบบโซล่าร์รูฟเสรีได้อย่างแท้จริง
“โครงการนำร่องโซล่าร์รูฟท๊อปเสรีจะเกิดประโยชน์เต็มที่ต้องดูครบทุกองค์ประกอบ คือ มีการทดลองใช้ระบบ Net-metering และการไฟฟ้าฯจะต้องไม่ใช้ข้ออ้างโครงการนำร่อง กีดกันการขนานไฟกับระบบของผู้มีความพร้อมในการติดตั้งโซล่าร์รูฟเพื่อใช้เอง ที่สามารถจัดการไม่ให้ไฟไหลย้อนเข้าระบบได้ ซึ่งหากเก็บข้อมูลประมวลผล เพราะไม่นำ Net-metering มาใช้ และใช้ในเวลาที่นานถึง 1 ปี นั้น เป็นการเสียเวลาเปล่าประโยชน์ ซึ่งระบบ Net-metering นั้น มีการดำเนินการในต่างประเทศมานานแล้ว จึงสามารถศึกษาผลกระทบ ตลอดจนความจำเป็นต้องดำเนินการด้านเทคนิค จากประสบการณ์จริงเหล่านั่นมาปรับใช้ สำหรับระเบียบการเชื่อมขนานไฟที่เป็นอุปสรรค นั้น ก็สามารถใช้อำนาจตามกฎหมายของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานในการปรับปรุงแก้ไขได้”นางสาวสุวพรกล่าว
นายดุสิต เครืองาม ประธานสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย ระบุก่อนหน้านี้ว่าข้อมูลที่กระทรวงพลังงานสื่อสารที่จะไม่รับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินที่เข้าระบบนั้น ทางกระทรวงพลังงานจำเป็นต้องแก้ไขก่อนที่จะเสนอโครงการนำร่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ในวันที่ 11 มีนาคมนี้-สำนักข่าวไทย

โซลาร์รูฟ ทางเลือกใหม่ของพลังงาน กับการใช้บ้านทำเงิน
29 May 2015
โซลาร์รูฟ ทางเลือกใหม่ของพลังงาน กับการใช้บ้านทำเงิน 
          เนื่องจากกำลังผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ที่จะรองรับการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ทั้งภาคครัวเรือน ชุมชน และอุตสาหกรรม ทางรัฐบาลจึงได้จัดตั้งโครงการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าจากภาคครัวเรือนเข้ามาเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ซึ่ง โซลาร์ รูฟ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยขจัด ปัญหาตรงนี้ได้ดีทีเดียว แต่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่า โซลาร์ รูฟ ที่กำลังพูดถึงอยู่นี้คืออะไร มีประโยชน์เช่นใด และจะสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าจากบ้านของเราได้อย่างไร ในวันนี้ก็จะนำข้อมูลเหล่านี้มาอธิบายให้ฟังกันค่ะ  
โซลาร์ รูฟ คืออะไร 
          โซลาร์ รูฟ (Solar Roof) คือระบบเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าบนหลังคา โดยใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) ที่ติดตั้งบนหลังคาที่พักอาศัยหรืออาคารต่าง ๆ รับพลังงานแสงเข้ามาเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ก่อนส่งไปยังเครื่องแปลงไฟ (Inverter) เพื่อเปลี่ยนจากไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ แล้วนำพลังงานไฟฟ้าที่ได้ไปใช้งานต่อไป โดยจะใช้เองภายในครัวเรือนหรือนำไปจำหน่ายให้กับภาครัฐก็ได้ ซึ่งสามารถติดตั้งได้กับหลังคา ทุกประเภท ได้แก่ หลังคากระเบื้องซีแพคโมเนีย หลังคาลอนคู่ หลังคาคอนกรีต หลังคาเมทัลชีท และหลังคากระเบื้องแบบเรียบ ยกเว้นหลังคาที่ใช้โครงไม้ หลังคาสังกะสี และหลังคาที่มีร่มเงาปกคลุมตลอดทั้งวัน 

ประโยชน์ที่ได้รับจากโซลาร์ รูฟ
1. ช่วยกันเปลี่ยนโลกได้ 

          ปัญหาโลกร้อนมีมาอย่างต่อเนื่องจากการใช้พลังงานในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นสาเหตุสำคัญของระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์ อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศ รวมถึงภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งแน่นอนว่ามีผลกระทบกับทุกชีวิตบนโลก ดังนั้นคงจะดีกว่าหากหันมาช่วยกันใช้พลังงานสะอาด อย่างเช่น พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากแสงอาทิตย์ ที่ทุกคนสามารถร่วมด้วยช่วยกันทำได้ โดยไม่สร้างมลภาวะใด ๆ ให้แก่โลกกันดีกว่า  


2. ช่วยเสริมกำลังผลิตไฟฟ้า 

          ในภาวะที่ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ มีแนวโน้มลดลงและกำลังจะหมดไปในอีก 5-7 ปีข้างหน้า ในขณะที่ความต้องการการใช้ไฟฟ้าในทุกภาคเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ พลังงานแสงอาทิตย์จึงถือเป็นทางเลือกสำคัญที่จะเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระในส่วนนี้ได้ โดยภาคประชาชนเป็นหนึ่งที่สามารถช่วยสร้างความมั่นคงทางพลังงานได้ แทนที่จะให้ภาครัฐมาสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่อาจเกิดมลพิษแก่ชุมชนในพื้นที่รอบ ๆ เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  


3. ช่วยสร้างรายได้ให้กับครอบครัว 

          ด้วยการลงทุนเพียงครั้งเดียวกับการติดตั้งโซลาร์ รูฟ บนหลังคาบ้านของคุณเอง ถือเป็นการลงทุนที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับครอบครัวในระยะยาวจากพลังงานที่อยู่แล้วในธรรมชาติ กับระบบที่ไม่ซับซ้อนยุ่งยาก อีกทั้งยังช่วยสร้างกำไรในเม็ดเงินจำนวนมากให้กับผู้ที่ลงทุนด้วย โดย Size XL (10KWp) สามารถทำเงินได้ ประมาณเดือนละ 8,520 บาทเลยทีเดียว ตลอด 25 ปีของสัญญาจากการไฟฟ้า โดยผู้ที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นอาคารประเภทที่อยู่อาศัยเท่านั้น โดยมีใบเสร็จแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าที่ระบุประเภทมิเตอร์ ประเภทที่ 1 

         

 ซึ่งบริษัท SPCG จำกัด (มหาชน) ที่นำโดย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ กรรมการผู้จัดการใหญ่และเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจ โซลาร์ ฟาร์ม (Solar Farms) แห่งแรกในไทยและอาเซียน ได้เปิดช่องทางให้กับผู้ที่มีใจลงทุนกับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา ภายใต้แบรนด์ SPR Solar Roof ด้วย 3 องค์ประกอบหลักในคุณภาพระดับชั้นนำ ได้แก่ 


           แผงเซลล์แสงอาทิตย์ของ Kyocera จากประเทศญี่ปุ่น ขนาด 1.7 ตารางเมตร น้ำหนัก 20 กิโลกรัมต่อแผ่น (น้ำหนักแผงบวกโครงรับอยู่ที่ 15 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ในขณะที่หลังคาทั่วไปรับได้ที่ 40 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) รับประกันคุณภาพการผลิตไฟฟ้าถึง 25 ปี Power Output ที่ 80% ตามมาตรฐาน STC (Standard Test Condition) ที่ผ่านการทดสอบแล้วในมาตรฐานระดับสากลในแบบที่ไม่ได้ใครกล้ารับประกันเท่านี้
           เครื่องแปลงไฟของ SMA จากประเทศเยอรมนีกับการรับประกัน 5 ปี ด้วยมาตรฐานการผลิตระดับโลก ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เยอะ และมีประสิทธิภาพการแปลงไฟสูงถึง 97% อีกทั้งหมดกังวลเรื่องเสียงรบกวนจากตัวเครื่องไปได้เลย

           ติดตั้งด้วยทีมงานมากประสบการ์ณที่เคยคลุกคลีกับธุรกิจโซลาร์ ฟาร์มมาแล้ว พร้อมกับการรับประกันการติดตั้งถึง 2 ปี และบริการหลังการขายที่จะเข้าไปช่วยตรวจระบบทุก ๆ 6 เดือน (ฟรี 2 ปี) อีกทั้งสามารถโทรศัพท์ขอคำปรึกษาได้ตลอด และ On-Site Service ที่ดำเนินโดยช่างผู้ชำนาญการ 
 

การขอสินเชื่อ 

          และตอนนี้ทาง บริษัท SPCG จำกัด (มหาชน) ได้จับมือกับทางธนาคารกรุงไทย จัดทำสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อการติดตั้งระบบโซลาร์ รูฟ เป็นครั้งแรกของเมืองไทย ในอัตราดอกเบี้ยเพียง 8.88% เท่านั้นจากปกติ 27% ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลในการค้ำประกัน รู้ผลภายใน 3-4 วัน และยังได้เป็นผู้บุกเบิกนวัตกรรมทางการเงินครั้งแรกกับโซลาร์รูฟในเมืองไทยด้วย แต่ทั้งนี้มีจำนวนจำกัดให้เพียง 300 หลังคาเรือนเท่านั้น  

ขั้นตอนการติดตั้ง 

          ผู้ที่สนใจจะติดตั้งสามารถเปิดสำรวจกับทางโฮมโปรได้ทุกสาขา ซึ่งสำหรับผู้ที่ขอสินเชื่อจะต้องนำเอกสาร ประกอบด้วยใบเสนอราคา, สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบัตรประชาชน, ใบเสร็จเงินเดือนหรือรายได้ที่เกิน 50,000 บาทต่อเดือน ไปยื่นกู้ที่ธนาคารกรุงไทยสาขาใกล้บ้านก่อน ค่อยจากนั้นจ่ายมัดจำ 10% แล้วรอการดำเนินการทางเอกสาร จ่ายเงินที่เหลือ แล้วรอกำหนดวันติดตั้ง 

          ส่วนผู้ที่ไม่ขอสินเชื่อหลังจากจ่ายมัดจำ 10% แล้ว ให้รอเอกสารแล้วจ่ายส่วนที่เหลือ หลังจากนั้นก็รอกำหนดวันติดตั้งเช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากทางรัฐบาลจะเปิดโครงการถึงวันที่ 30 เดือนมิถุนายน 2558 นี้ ดังนั้นหากรีบดำเนินการก็จะเป็นผลกับการลงทุนของคุณเอง ซึ่งการดำเนินงานเรื่องเอกสารกับทางราชการ ทางบริษัทฯ จะเป็นผู้ดำเนินการให้ทั้งหมด โดยที่ลูกค้าแค่เตรียมเอกสารและนำไปยื่นให้กับทางโฮมโปรสาขาใกล้บ้านได้
ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน...นำร่องโซล่ารูฟท๊อปเสรี

     หนึ่งปีที่ผ่านมา การปฏิรูปด้านพลังงานจะมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีหลายเรื่อง แต่ด้านการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน
     กลับไม่มีความคืบหน้า โดยสะท้อนจากมาตรการของกระทรวงพลังงานที่ถูกชะลอในขั้นตอนการดำเนินการ เช่น โครงการพลังงานจากขยะ การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนด้วยวิธีประกวดราคา และโครงการโซล่าฟาร์มราชการและสหกรณ์การเกษตร และท่ามกลางความสับสนกับมาตรการที่เป็นอยู่ กระทรวงพลังงานก็ออกมาประกาศถึงโครงการนำร่องการส่งเสริมโซล่าร์รูฟท๊อปเสรีผลิตเพื่อใช้เองจำนวน 100 เมกะวัตต์ ที่ทำให้เกิดความสงสัยอะไรคือนำร่องและเสรีแต่มีจำกัดเมกะวัตต์

     ภาครัฐยังยึดติดกับแนวคิดที่ว่า พลังงานหมุนเวียนทำให้ค่าไฟฟ้าแพง ซึ่งในปัจจุบันการพัฒนาด้านเทคโนโลยีรวมถึงการแข่งขันด้านการตลาด ได้ทำให้เทคโนโลยีด้านพลังงานหมุนเวียนมีต้นทุนที่ถูกลง พลังงานหมุนเวียนบางประเภท เช่น ชีวมวล ก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียโรงงานอุตสาหกรรม สามารถแข่งขันกับการผลิตไฟฟ้าด้วย LNG หรือก๊าซธรรมชาตินำเข้า ซึ่งหากรัฐจะรับซื้อไฟฟ้า โดยยึดหลักการของต้นทุนหน่วยสุดท้ายที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ที่เรียกว่า Avoided Cost ก็ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น ซึ่งรวมถึงการรับซื้อไฟฟ้าด้วยราคานี้กับระบบ Net-metering ของโซล่าร์รูฟท๊อปด้วย

     ข้อจำกัดด้านสายส่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งกระทรวงพลังงานจะให้เป็นหน้าที่ของการไฟฟ้าเป็นผู้ให้ความเห็นของความพร้อมด้านสายส่ง โดยไม่ได้มีการทบทวนหรือตรวจสอบความถูกต้อง จากการที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตมีสถานะเป็นทั้งผู้ผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่าย พร้อมกับการเป็นเจ้าของโครงข่ายไฟฟ้าด้วย การจะอ้างข้อจำกัดด้านเทคนิคเพื่อกีดกันการรับซื้อก็อาจสามารถกระทำได้ดังนั้น การวิเคราะห์ปัญหาข้อจำกัดด้านสายส่งจึงจำเป็น โดยกระทรวงพลังงานจะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญอิสระทำการตรวจสอบรวมถึงหาวิธีแก้ไขปัญหาอุปสรรค ขนานไปกับการดำเนินการของการไฟฟ้า ซึ่งในส่วนนี้เป็นหน้าที่ตามกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่ปัจจุบันยังไม่มีการปฏิบัติ

     ปัญหาอุปสรรคส่วนหนึ่งยังมาจากระเบียบกฎเกณฑ์ของภาครัฐ ตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนปัจจุบัน การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐจะเข้าข่ายการร่วมลงทุนทั้งสิ้น และไม่ว่าโครงการจะมีมูลค่าเท่าใด ซึ่งสร้างปัญหาอุปสรรคต่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าขยะ การไม่มีหน่วยงานใดของภาครัฐเป็นเจ้าภาพในการประสานผลักดันการดำเนินการและแก้ไขปัญหาอุปสรรค โดยแต่ละฝ่ายจะดำเนินการเฉพาะในส่วนที่ตนเกี่ยวข้อง การประสานผลักดันจึงไม่เกิดขึ้นสำหรับการกำหนดนโยบายและมาตรการนั้น จำเป็นต้องศึกษาปัญหาและอุปสรรคอย่างถี่ถ้วน สภาพตลาดที่แท้จริง ความก้าวหน้าด้านเทคนิคและเทคโนโลยี และรวมถึงการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม จึงจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายและมาตรการที่สามารถดำเนินการได้

     โครงการส่งเสริมการติดตั้งโซล่าร์รูฟอย่างเสรี เป็นข้อเสนอจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้ให้ความเห็นชอบตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 โดยมอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ไปกำหนดแนวทางปฏิบัติในลักษณะโครงการนำร่อง ที่เน้นการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองเป็นหลักโดยขายไฟฟ้าส่วนเกินให้แก่การไฟฟ้าให้น้อยที่สุด ในราคารับซื้อไฟฟ้าที่ไม่ก่อภาระต่อประชาชน(ระบบ Net-metering) แต่สำหรับโครงการนำร่องที่จะนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติในครั้งนี้ จะไม่เป็นไปตามหลักการดังกล่าว

     โดยจะไม่มีการดำเนินการในเรื่อง Net-metering เนื่องจากติดระเบียบการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้า ที่ไม่อนุญาตให้มีกระแสไฟฟ้าไหลย้อนเข้าสู่ระบบโครงการนำร่องจึงเป็นเพียงการติดตั้งระบบโซล่ารูฟที่ผลิตเพื่อใช้เองเพื่อเก็บข้อมูลเพื่อประเมินผลเท่านั้น ได้แก่ การประเมินการผลิตไฟฟ้า ปริมาณไฟฟ้าไหลย้อนเข้าระบบการลดการสูญเสียและผลกระทบต่อคุณภาพไฟฟ้า และการประเมินผลทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งโครงการจะเริ่มได้ปลายปี 2559

     ปัจจุบันการติดตั้งระบบโซล่าร์รูฟผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองในการลดค่าไฟได้เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้วเพราะมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน โดยมีการคืนทุนในเวลาเพียง 7-8 ปี สามารถผลิตไฟฟ้าได้นานถึง 25 ปี และจากมาตรการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ลงทุนในมาตรการการประหยัดพลังงาน และพลังงานหมุนเวียน ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สูงสุดถึง 50% ของเงินลงทุน ยิ่งทำให้การคืนทุนเร็วขึ้นสามารถคืนทุนได้ในเวลา 4-5 ปี ในขณะที่การจัดการไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลย้อนเข้าระบบสามารถจัดการได้ นอกจากใช้การใช้วิธีติดตั้งระบบโซล่าร์รูฟในขนาดที่สอดคล้องกับโหลดการใช้ไฟแล้ว ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ที่ระบบ inverter สามารถควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ก็ทำให้สามารถบริหารจัดการกระแสไฟฟ้าที่ออกมาได้ในระดับที่สอดคล้องกับปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม

     สำหรับโครงการนำร่องของกระทรวงพลังงาน หากจะเป็นเพียงการเก็บข้อมูลเพื่อประมวลผล โดยไม่นำระบบ Net-metering มาใช้ และใช้ในเวลาที่นานถึง 1 ปีนั้น จะเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งระบบ Net-metering นั้น มีการดำเนินการในต่างประเทศมานานแล้ว จึงสามารถศึกษาผลกระทบตลอดจนความจำเป็นต้องดำเนินการด้านเทคนิค จากประสบการณ์จริงเหล่านั้น สำหรับระเบียบการเชื่อมขนานไฟที่เป็นอุปสรรคนั้น ก็สามารถใช้อำนาจตามกฎหมายของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานในการปรับปรุงแก้ไขโดยที่จริงแล้วปัญหาหลักของการใช้ระบบ Net-metering นั้น ก็คือปัญหาในการจัดเก็บภาษี ที่หน่วยงานด้านภาษีไม่เห็นด้วยกับการเก็บภาษีในอัตราสุทธิ (ของหน่วยซื้อขายไฟฟ้าที่หักลบสุทธิแล้ว) โดยเห็นว่าทุกหน่วยที่มีการซื้อหรือขายควรมีการจ่ายภาษีการผลักดันในเรื่อง Net-metering จึงได้ยืดเยื้อมาจนกระทั่งปัจจุบัน

     การดำเนินการโครงการนำร่องโซล่าร์รูฟท๊อปเสรีจะเกิดประโยชน์เต็มที่ หากจะมีการดำเนินการให้ครบทุกองค์ประกอบ คือ มีการทดลองใช้ระบบNet-metering โดยไฟฟ้าที่เหลือใช้แม้จะมีเพียงเล็กน้อย แต่ต้องได้ขายเข้าระบบในราคาที่เหมาะสม จึงจะเกิดความเป็นธรรมกับผู้บริโภคที่เข้าร่วมโครงการ

     ในขณะเดียวกัน การไฟฟ้าจะต้องไม่ใช้ข้ออ้างของการมีโครงการนำร่อง กีดกันการขนานไฟกับระบบของผู้มีความพร้อมในการติดตั้งระบบโซล่าร์รูฟเพื่อใช้เองที่สามารถจัดการไม่ให้ไฟไหลย้อนเข้าระบบได้ พร้อมกันนั้น การดำเนินการแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคทั้งในเชิงด้านเทคนิคและการปฏิบัติอื่น จะต้องดำเนินการไปพร้อมกัน มีระยะเวลาแล้วเสร็จที่ชัดเจน จึงจะเป็นผลให้เกิดการดำเนินการของระบบโซล่าร์รูฟเสรีได้อย่างแท้จริง
สุวพร ศิริคุณ
กรรมการมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
มีนาคม 2559
www.bangkokbiznews.com

Tuesday, March 1, 2016

ถาม : โซล่าเซลล์คืออะไร ?
ตอบ : โซล่าเซลล์  มีที่มาของพลังงานจากแสงอาทิตย์ หรือ SOLAR CELL เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า PV ย่อมาจากคำว่า Photo Voltaic
แปลง่ายๆก็คือ ไฟฟ้า ที่มีที่มาจากแสงนั่นเอง เมื่อมีแสง ก็จะเกิดการวิ่งของไฟฟ้า จาก + ไป - เหมือนถ่านไฟฉาย แต่โซล่าเซลล์เป็นถ่านไฟฉายที่นิยมทำมาจากสารซิลิก้า หรือเรียกว่าซิลิก้อนก็ได้
http://www.dadjar.solar
ถาม : โซล่าเซลล์มีขนาดกี่โวลต์ กี่แอมป์ กี่วัตต์ ?  
ตอบ : การจะนำโซล่าเซลล์มาใช้งานนั้น โดยปกติแล้ว เซลล์เซลล์หนึ่งจะมีแรงดันไฟอยู่ ไม่กี่โวลต์ แต่การที่จะนำเซลล์เซลล์เดียวไปใช้งานนั้น ไฟฟ้าเพียงไม่กี่โวลต์คงจะทำได้แค่ เป็นไฟฉายLED ส่องสว่างแค่ประมาณไฟในห้องโดยสารรถยนต์เท่านั้น จะนำไปใช้งานอะไรก็คงยากเย็น จึงต้องมีการนำเอาโซล่าเซลล์ หลายๆชิ้น มาต่อกันเป็นแผง ก็เลยเรียกกันว่า " แผงโซล่าเซลล์ " ซึ่ง เราจะเรียกว่า โซลาร์เซลล์ โซล่าเซลล์ โซล่าร์เซลล์ ก็แล้วแต่ แต่ก็คือสิ่งเดียวกันคือ SolarCell หรือ Photovoltaic หรือ PV  แผงโซล่าเซลล์ที่นิยมใช้นั้น โดยทั่วไปจะมีแรงดันไฟ 2 ขนาด คือ แผง 12 โวลต์ และ แผง 24 โวลต์ แต่ที่มีขนาดใหญ่ไม่เท่ากัน เพราะมีเซลล์มากกว่ากัน เลยมีกระแสไฟ Amp ที่วิ่งในแผงโซล่าเซลล์ ไม่เท่ากัน มีขนาดของแอมป์ ต่างๆกัน แต่ในท้องตลาดนั้น ไม่นิยมเรียกกันว่า แผง 8 แอมป์ แผง 6 แอมป์ แต่มักจะเรียกกันเป็นวัตต์ Watt มากกว่า โดยการเอา โวลต์ ของแผง มาคูณกับ แอมป์ ก็ได้จำนวนวัตต์ของแผงโซล่าเซลล์ เพื่อจะได้มีการคำนวณการใช้งานที่สะดวก ในท้องตลาดนั้น อาจจะมีแผงตั้ง แต่ 5 วัตต์ จนถึง 320 วัตต์ ก็แล้วแต่จำนวนของ โซล่าเซลล์นั่นเอง ถ้ามีเซลล์เยอะๆ วัตต์ก็จะเยอะๆตามไปด้วย         
        การทำให้ได้กระแสไฟฟ้ามากๆ ก็ทำได้โดยการนำเซลล์มาต่อขนานกัน หรือ ถ้าต้องการ ให้ได้แรงดันไฟฟ้าสูงๆ ก็ทำได้โดยนำเซลล์มาต่ออนุกรมกัน เซลล์แสงอาทิตย์ ที่มีขายในท้องตลาด จะถูกออกแบบ ให้อยู่ในกรอบอลูมินั่ม สี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งเรียกว่า แผง หรือ โมดูล
ถาม : การใช้งานของโซล่าเซลล์ ใช้กับ อุปกรณ์ DC หรือ AC ใช้ ไฟกี่โวลต์ ?       
ตอบ : เนื่องจากกระแสไฟฟ้า ที่ไหลออกจากเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นชนิดกระแสตรง DC 12 volt หรือ 24 volt แต่อุปกรณ์ จะเป็น DC 12 VOLT และ ยังมี AC 220 VOLT ถ้าเราต้องการใช้ 12 VOLT เราจะต่อจากแผงเลยได้ไหม ตอบว่าไม่ได้ เพราะ การที่แผงขนาด 12 โวลต์นั้น เวลาทำงานจริงๆ บางครั้งมีไฟแค่ 1 โวลต์ บางครั้งมีไฟถึง 18 Volt และ แผงขนาด 24 โวลตต์ บางครั้งมีไฟ 1 โวลต์ และบางครั้งอาจมีไฟถึง 30 โวลต์ ดังนั้น การจะนำไฟโซล่าเซลล์มาใช้ ต้องมีตัวควบคุมระดับไฟ หรือตัวกรองไฟ ให้เหลือ 12 Volt หรือ 24 Volt ตามขนาดของ อุปกรณ์ที่ใช้ หรือ ตามขนาดของแบตเตอรี่

ถาม : อุปกรณ์ที่ควบคุม ให้มีการใช้ไฟที่ 12 VOLT และ 24 Volt เรียกว่า อะไร ทำงานอย่างไร ?
ตอบ : อุปกรณ์ตัวนี้เรียกว่า เครื่องประจุกระแส หรือ Charger หรือ Solar Charge หรือ Control Charge งานของเขามี 5 งาน คือ
       1. ป้องกันไฟเกินโวลต์แบต ลงแบตเตอรี่
       2. ป้องกันชาร์จมากเกิน เมื่อแบตเต็ม
       3. ป้องกันไฟจากแบต ไหลย้อนกลับไปที่แผง PV
       4. หาไฟให้มากที่สุดในวินาทีที่มันทำงาน
       5. ตั้งเวลาปิดเปิดหลอดไฟ โดยใช้แผงโซล่าร์เซลล์ทำหน้าที่เป็นสวิทซ์แสง 
http://www.dadjar.solar
ถาม :  ถ้าเราไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีขนาด 12 Volt เราจะใช้แผงโซล่าเซลล์ได้ไหม ?
ตอบ :  ปัญหานี้แก้ได้ โดยใช้หลักการเดียวกับ การดูโทรทัศน์ในรถยนต์ ต้องมีอุปกรณ์เพิ่มอีก 1 ตัว เรียกว่า เครื่องแปลงกระแส หรือ อินเวอร์เตอร์
        ถ้าผู้ใช้ต้องการ นำไฟ 12 Volt ไปจ่ายไฟฟ้า ให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 220 Volt ต้องเอาไฟจากแบตเตอรี่ มาต่อ กับอินเวอร์เตอร์ ( Inverter ) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ แปลงไฟฟ้ากระแสตรง 12 VOLT  ให้เป็นกระแสสลับ 220 V ก่อน
        สรุปคือถ้าเราจะจ่ายไฟฟ้าให้เฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสตรงในเวลากลางวัน เช่น หลอดแสงสว่างกระแสตรง สามารถต่อเซลล์ แสงอาทิตย์ เข้ากับ ชาร์จเจอร์ และ ต่อชาร์จเจอร์ เข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสตรง DC 12 Volt ได้โดยตรง
         แต่ถ้าจ่ายไฟฟ้าให้เครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ  เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ในระบบจะต้องมีอินเวอร์เตอร์ด้วยมาต่อกับแบตเตอรี่ด้วย ถ้าต้องการใช้
อินเวอร์เตอร์เป็นอุปกรณ์ ที่ใช้สำหรับแปลงไฟฟ้ากระแสตรง ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ
         ในการแปลงกระแสไฟดังกล่าวจะมีการสูญเสียพลังงานเกิดขึ้นเสมอ โดยทั่วไปประสิทธิภาพ ของอินเวอร์เตอร์ มีค่าประมาณร้อยละ 85 - 90 หมายความว่า ถ้าต้องการไฟฟ้า 85-90 วัตต์ เราควรเลือกใช้อินเวอร์เตอร์ขนาด 100 วัตต์ เป็นต้น
         ในการใช้งาน ควรติดตั้งอินเวอร์เตอร์ในที่ร่ม อุณหภูมิไม่เกิน 40 องศา ความชื้นไม่เกินร้อยละ 60 อากาศระบายได้ดี ไม่มีสัตว์ เช่น หนู งู มารบ กวน และมีพื้นที่ให้บำรุงรักษาได้เพียงพอ

ถาม : สถานที่ติดตั้งแผง เซลล์ แสงอาทิตย์ ควรเป็นแบบไหน ?
ตอบ : ควรเป็นที่โล่ง ไม่มีเงามาบังเซลล์ ไม่อยู่ใกล้สถานที่เกิดฝุ่น อาจอยู่บนพื้นดิน หรือบนหลังคาบ้าน ก็ได้ ควรวางให้แผงเซลล์ มีความลาด เอียง ประมาณ 10-15 องศา จากระดับแนวนอน และหันหน้า ไปทางทิศใต้ การวางแผงเซลล์ ให้มีความลาด ดังกล่าว จะช่วยให้ เซลล์รับแสง อาทิตย์ได้มากที่สุด และช่วย ระบายน้ำฝนได้รวดเร็ว
http://www.dadjar.solar
ถาม : การบำรุงรักษาเซลล์แสงอาทิตย์ทำอย่างไร และอายุการใช้งานนานเท่าไร ?
ตอบ : แผงโซล่าเซลล์ เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ ไม่มีส่วนใดที่เคลื่อนไหว ทำให้ลดการดูแลและบำรุงรักษา ระบบดังกล่าว จะมีเพียงในส่วนของการทำความสะอาด แผงเซลล์แสงอาทิตย์ ที่เกิดจาก ฝุ่นละอองเท่านั้น โดยการใช้ไม้ถูพื้นชุบน้ำสะอาดเช็ดก็พอแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับ การดูแลพวกระบบเครื่องปรับอากาศ ขนาดเล็กตาม บ้านพักอาศัยแล้ว จะพบว่าแผงโซล่าเซลล์นี้ นี้ดูแลง่ายกว่า
      ส่วนอายุการใช้งาน เซลล์แสงอาทิตย์ โดยทั่วไปยาวนานกว่า 20 ปีเทคโนโลยีของ เซลล์แสงอาทิตย์ ในปัจจุบัน มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ประกอบกับ การนำ ระบบควบคุมที่ดี มาใช้ในการผลิต ทำให้ เซลล์แสงอาทิตย์ สามารถที่จะผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 1,600-1,800 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ต่อกิโลวัตต์ สูงสุดต่อปี พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากบ้าน 1 หลัง ประมาณ 3,750-4,500 หน่วย/ปี สามารถ ลดการใช้ น้ำมัน ในการผลิต ไฟฟ้าลงได้ 1,250-1,500 ลิตร/ปี

ถาม :  การใช้โซล่าเซลล์ที่มีค่าใช้จ่ายสูงนั้น มีผลดีอย่างไร ?
ตอบ :  การใช้โซล่าเซลล์ดีมากๆตรงที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ใช้เชื้อเพลิง โครงการนี้จึงมีส่วนช่วยลด CO2 SOX และ NOX ที่เกิดจากโรงไฟฟ้าที่ผลิตอยู่ในปัจจุบัน และ ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการกำจัดสารต่างๆ ดังกล่าวนั้นด้วย
       จุดเด่นของเซลล์แสงอาทิตย์นั้นมีหลายประการคือ
1.แหล่งพลังงานได้จากดวงอาทิตย์ เป็นแหล่งพลังงานที่ไม่มีวันหมดและไม่เสียค่าใช้จ่าย
2.เป็นแหล่งพลังที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดมลภาวะแก่สิ่งแวดล้อม
3.สร้างไฟฟ้าได้ทุกขนาดตั้งแต่เครื่องคิดเลข ไปจนถึงโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่
4.ผลิตที่ไหนใช้ที่นั่น ซึ่งระบบไฟฟ้าปกติแหล่งผลิตไฟฟ้ากับจุดใช้งานอยู่คนละที่ และจะต้องมีระบบนำส่ง แต่เซลล์แสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าในบริเวณที่ใช้งานได้
5.ถ้าคนไม่มีไฟฟ้าใช้ หรือ ใช้แล้วถูกกว่าน้ำมัน โซล่าเซลล์ จะมีประโยชน์มากกว่าการดูแลสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว
http://www.dadjar.solar
ถาม : อะไรคือ ON GRID และ OFF GRID ?
ตอบ : Grid แปลว่า การไฟฟ้า เช่น กฟภ. กฟน. กฟผ. หน่วยงานเหล่านี้คือ Grid หรือ สายส่ง
      การใช้ไฟฟ้าSOLAR CELL เดิม นิยมทำโดยไม่ยุ่งกับกริด หรือไม่ออนกริด ก็เลยเรียกว่า OFF GRID แต่ในปัจจุบัน มีอุปกรณ์แปลงกระแส ที่สามารถทำงานร่วมกับไฟของการไฟฟ้าได้ดี เลยเรียก อินเวอร์เตอร์เหล่านี้ว่า กริดไทร์อินเวอร์เตอร์ Grid Tile inverter หรือ อินเวอร์เตอร์ออนกริด
         ปัจจุบัน นิยมนำมาใช้ ที่แดดจ้าเห็นๆอยู่ก็มี 2 วิธีการ คือ
     1.การทำการออนกริด On Grid  หรือ การขนานไฟ โดยทำการเพื่อเพิ่มไฟที่ผลิตจาก โซล่าร์เซลล์ ลงไปในไฟบ้าน เพื่อลดค่าไฟ การทำวิธีนี้ ต้องแจ้งการไฟฟ้า ถ้าไม่แจ้งการไฟฟ้า จะมีปัญหา อาจจะทำให้ช่างของกฟน. กฟภ. โดนไฟจากโซล่าร์เซลล์ดูดตายได้ หรือ คนที่มาจดมิเตอร์ จะแจ้งการไฟฟ้าประจำพื้นที่ของท่านว่า มิเตอร์เสีย หรือ ถ้ามีการผลิตไฟมากจนมิเตอร์น๊อครอบ ก็จะมีการอ่านผิดพลาด จนเกิดการคิดค่าไฟที่เกินไปมาก
     2.การทำออนกริด On Grid เพื่อ ขายไฟให้การไฟฟ้า เช่น SOLAR ROOF TOP หรือ SOLAR FARM โซล่าร์รูฟท็อปที่ติดตั้งบนหลังคา หรือโซล่าร์ฟาร์ม

ถาม : โซล่าร์เสรี หรือ เน็ตมิเตอริ่ง Net Metering คืออะไร ?
 
  ขอบคุณภาพ NET NETERING จากเอกสาร ดร.ดุสิต เครืองาม
ตอบ : เป็นโครงการในอนาคตอันใกล้ของประเทศไทย แต่ในเมืองนอก มีมานานแล้ว เป็นการติดมิเตอร์ เพิ่มอีก 1 ตัว เดิม บ้านคนไทย จะมี มิเตอร์อันเดียว คือ มิเตอร์ไฟเข้า แต่การทำเน็ตมิเตอริ่ง จะมีการติดมิเตอร์ไฟออก เข้าไปอีก 1 อัน แล้วจะมีการลงซอพท์แวร์ให้สามารถนำเอาค่าที่ได้ จาก 2 มิเตอร์ มาคิดค่าไฟสุทธิ NET ของบ้านนั้นๆได้ ว่า เดือนๆนั้น เราควรจ่ายค่าไฟ หรือ รับค่าไฟคืนจากการไฟฟ้าเท่าไร ในปัจจุบันบางประเทศ ใช้มิเตอร์อันเดียวแต่คิดค่าไฟได้ทั้ง เข้า และ ออก ซึ่งโครงการนี้ คงต้องรอดูกันต่อไปว่าจะสำเร็จเมื่อไร

ที่มา http://www.dadjar.solar

Monday, February 29, 2016

กระทรวงพลังงาน ปลดล็อคส่งเสริมโซล่าร์ฟาร์ม

กระทรวงพลังงาน ปลดล็อคส่งเสริมโซล่าร์ฟาร์ม ชูมติบอร์ดบริหารพลังงานหมุนเวียน ไฟเขียวดัน 178 โครงการค้างท่อ ชี้มีโครงการพร้อม 25 แห่ง กำลังผลิต 138 เมกะวัตต์ เตรียมเซ็น PPA และขายไฟเข้าระบบในปี 58 ส่วนโครงการติดปัญหา 153 แห่ง ให้ พพ. เป็นแม่งานเร่งบูรณาการแก้ปัญหาด้านสายส่งและพื้นที่ตั้งโครงการ หวังดันทุกโครงการด้านพลังงานแสงอาทิตย์เข้าระบบจ่ายไฟได้ ด้านโครงการโซล่าร์ฟาร์มจากสหกรณ์มั่นใจมีเกณฑ์ชัดเจน และต่อไปจะมอบให้ สกพ. (เรกูเลเตอร์) จัดให้มีกระบวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแบบ One-Stop-Service ภายในปี 58
undefined
 นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ในวันนี้ (8ธค.) มีประเด็นพิจารณาที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ซึ่งเป็นฝ่ายรับไปเจรจาได้นำเสนอและถือเป็นประเด็นสำคัญคือ การตอบรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินหรือโซล่าร์ฟาร์ม ซึ่งจากมติในที่ประชุมฯ นั้น ได้มีข้อสรุป ดังนี้ 
 
          การเห็นชอบในหลักการในการตอบรับซื้อไฟฟ้าข้อเสนอโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (กลุ่มที่ยื่นในหลักการเสนอขอขายไฟก่อนปิดรับซื้อในเดือนมิถุนายน 2553 และยังไม่ได้รับการพิจารณาตอบรับซื้อ) จำนวนทั้งสิ้น 178 โครงการ ปริมาณเสนอขาย 1,013 เมกะวัตต์ โดยโครงการที่ตอบรับซื้อไฟฟ้าแล้วส่วนที่สายส่งไฟฟ้ารองรับได้หรือผ่านข้อกำหนดทางเทคนิคการเชื่อมต่อโครงข่ายระบบไฟฟ้าของ กฟผ. และไม่ติดปัญหาที่ดิน จำนวน 25 โครงการ กำลังการผลิต 138 เมกะวัตต์ ที่ประชุมมีมติมอบให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ดำเนินการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) และกำกับการพัฒนาโครงการให้สามารถขายไฟฟ้าให้สามารถเข้าระบบภายในปี 2558 

          ทั้งนี้ ในส่วนที่โครงการที่ตอบรับซื้อไฟฟ้าแล้วส่วนที่สายส่งไฟฟ้ารองรับไม่ได้ หรือไม่ผ่านข้อกำหนดทางเทคนิคฯ หรือติดปัญหาที่ดินในกลุ่มโซลาร์ฟาร์มที่เหลือ 153 โครงการ ปริมาณเสนอขาย 875 เมกะวัตต์ พพ. จะทำหนังสือแจ้งผลการพิจารณาผู้ยื่นข้อเสนอโครงการให้สามารถย้ายที่ตั้งโครงการได้ โดยหากสามารถเปลี่ยนที่ตั้งโครงการได้แล้ว พพ. จะได้ทำหน้าที่เป็น One-Stop-Service ในการรับเรื่องและประสานงานกับการไฟฟ้าและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ ตรวจสอบพื้นที่โครงการตามขั้นตอนต่อไป และจะเร่งรัดดำเนินการเสร็จสิ้นภายในเดือน 31 มีนาคม 2558 เท่านั้น โดยการดำเนินการเกี่ยวกับทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าวจะมีรายงานให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ทราบต่อไป 

          “กระทรวงพลังงานได้เริ่มก้าวแรกในการทยอยปลดล๊อคโครงการโซล่าร์ฟาร์ม และพลังงานทดแทนทุกชนิด ที่ค้างการพิจารณาอยู่จำนวนมากจากมติ กพช. ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการให้โอกาสสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการที่มีความตั้งใจจริงที่จะร่วมกับกระทรวงพลังงาน ในการเดินหน้านโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนไปด้วยกัน จากนี้จะได้เร่งพิจารณาโครงการฯที่ติดปัญหาหลัก ๆ เช่นเรื่องการรองรับของสายส่ง พื้นที่ตั้งโครงการโดยเร็ว และจะได้มอบหมายให้การไฟฟ้าทั้ง 2 การ (กฟผ. และกฟภ.) เริ่มขั้นตอนของการทยอยทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าต่อไป” นายอารีพงศ์ กล่าว 

          นายอารีพงศ์ กล่าวเพิ่มว่า ภายในการประชุมฯ ได้มีการรายงานความคืบหน้าและพิจารณาหลักเกณฑ์และแนวทางดำเนินการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์การเกษตร รวม 800 เมกะวัตต์ และเบื้องต้นจะให้อยู่ในรูปแบบที่เปิดให้บริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) เข้ามาร่วมพัฒนาโครงการนั้น โดยหลักเกณฑ์ซึ่งได้มีการพิจารณาเพื่อคัดเลือกโครงการ ที่ประชุมฯ ได้กำหนดกรอบไว้อาทิ ให้มีการกำหนดพื้นที่และปริมาณการรับซื้อไฟฟ้า ณ จุดเชื่อมโยงในแต่ละเขตการให้บริการไฟฟ้า (Zoning) โดยพิจารณาจากความพร้อมในการรองรับโครงการของสายส่งและสายจำหน่ายไฟฟ้า ที่จะประกาศให้ทราบทั่วถึงก่อนรับข้อเสนอโครงการ 

          สำหรับแนวทางรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนต่อไปในอนาคตนั้น ได้มอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ Regulator ไปจัดระเบียบและบูรณาการ 3 การไฟฟ้า จัดให้มีขั้นตอนและบริการแบบ One-Stop-Service โดยคาดหวังว่า จะนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาช่วยพัฒนาให้ระบบการกำกับการรับซื้อไฟฟ้าให้มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และสามารถให้บริการแบบเบ็ดเสร็จแก่ประชาชนและผู้ประกอบการได้
undefined

ที่มาของข่าว: http://www.energy.go.th/moen/th/news/moen/vip-news/081257/

การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
     PHOTOVOLTAIC   OPERATION

     หลักการพื้นฐานของเทคโนโลยี
 

  >> เซลล์แสงอาทิตย์ หรือโซลาร์ เซลล์ (Solar Cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง เซลล์แสงอาทิตย์ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ ซึ่งดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยไฟฟ้าที่ได้จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง
   >> เซลล์แสงอาทิตย์ เป็นอุปกรณ์ผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงอื่นใดนอกจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานที่ได้เปล่า ไม่มีของเสียที่จะทำให้เกิดมลพิษขณะใช้งาน เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ ขณะทำงาน จึงไม่มีปัญหาด้านความสึกหรอ หรือต้องการการบำรุงรักษาเหมือนอุปกรณ์ผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบอื่นๆ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ด้วยน้ำมันดีเซล นอกจากนั้นเซลล์แสงอาทิตย์ยังมีน้ำหนักเบา จึงทำให้ได้อัตราส่วนระหว่างกำลังไฟฟ้าต่อน้ำหนักได้ดีที่สุด 
     ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน ประกอบด้วย แผงเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคา ภายในจะมีชุดแปรงกระแสไฟฟ้า (อินเวอร์เตอร์) โดยมีหลักการทำงานของระบบดังนี้
     1. เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมดจะผลิตกระแสไฟ้ฟ้าตรง ผ่านระบบควบคุมเข้าอินเวอร์เตอร์
     2. อินเวอร์เตอร์จะเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับจ่ายเข้าระบบไฟฟ้าภายในบ้าน
     3. ในช่วงที่ความเข้มของแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ หรือมีการใช้อุปกรณ์ที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงกว่ากำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์แล้ว ระบบก็จะนำกำลังไฟฟ้าส่วนขาดจากระบบจำหน่ายไฟ้ฟ้าแบบปกติของการไฟฟ้าฯ มาใช้เพื่อให้อุปกรณ์ไฟฟ้าสามารถทำงานได้

ประเภทของการใช้งาน
     ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน เหมาะสมกับผู้ที่ต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าเสริมกับระบบไฟฟ้าปกติภายในบ้าน

ประโยชน์ของเทคโนโลยี

     >> สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายให้กับการไฟฟ้าฯ โดยจะประหยัดค่าไฟฟ้าในส่วนที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ทดแทนการใช้ไฟปกติ
     >> ลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการผลิตไฟฟ้าด้วยรูปแบบอื่นเช่น การผลิตไฟฟ้าจากน้ำมัน หรือถ่านหิน ซึ่งเชื้อเพลิงเหล่านี้มีส่วนทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติทั้งสิ้น
     >> ส่งเสริม และปลูกจิตสำนึกให้รับรู้ถึ งเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่สะอาด รู้คุณค่าของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จริง และร่วมกันใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัด

ข้อพิจารณาในการนำมาใช้
     ลักษณะของบ้าน

     หลังคาบ้านที่ติดตั้งจะต้องมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะสามารถรองรับน้ำหนักของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้
     แหล่งพลังงาน
     ต้องไม่มีร่มเงามาบดบังทิศทางของแสงอาทิตย์ที่ส่องลงไปบนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้าน เพราะเซลล์แสงอาทิตย์ต้องใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้า

  
 



สภาพแวดล้อมและการออกแบบ


ปัจจัจสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ


วัสดุและระบบโครงสร้าง


เทคนิคการออกแบบห้องน้ำ


ระบบควบคุมอัตโนมัต


ทดสอบความรู้