Monday, February 29, 2016

กระทรวงพลังงาน ปลดล็อคส่งเสริมโซล่าร์ฟาร์ม

กระทรวงพลังงาน ปลดล็อคส่งเสริมโซล่าร์ฟาร์ม ชูมติบอร์ดบริหารพลังงานหมุนเวียน ไฟเขียวดัน 178 โครงการค้างท่อ ชี้มีโครงการพร้อม 25 แห่ง กำลังผลิต 138 เมกะวัตต์ เตรียมเซ็น PPA และขายไฟเข้าระบบในปี 58 ส่วนโครงการติดปัญหา 153 แห่ง ให้ พพ. เป็นแม่งานเร่งบูรณาการแก้ปัญหาด้านสายส่งและพื้นที่ตั้งโครงการ หวังดันทุกโครงการด้านพลังงานแสงอาทิตย์เข้าระบบจ่ายไฟได้ ด้านโครงการโซล่าร์ฟาร์มจากสหกรณ์มั่นใจมีเกณฑ์ชัดเจน และต่อไปจะมอบให้ สกพ. (เรกูเลเตอร์) จัดให้มีกระบวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแบบ One-Stop-Service ภายในปี 58
undefined
 นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ในวันนี้ (8ธค.) มีประเด็นพิจารณาที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ซึ่งเป็นฝ่ายรับไปเจรจาได้นำเสนอและถือเป็นประเด็นสำคัญคือ การตอบรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินหรือโซล่าร์ฟาร์ม ซึ่งจากมติในที่ประชุมฯ นั้น ได้มีข้อสรุป ดังนี้ 
 
          การเห็นชอบในหลักการในการตอบรับซื้อไฟฟ้าข้อเสนอโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (กลุ่มที่ยื่นในหลักการเสนอขอขายไฟก่อนปิดรับซื้อในเดือนมิถุนายน 2553 และยังไม่ได้รับการพิจารณาตอบรับซื้อ) จำนวนทั้งสิ้น 178 โครงการ ปริมาณเสนอขาย 1,013 เมกะวัตต์ โดยโครงการที่ตอบรับซื้อไฟฟ้าแล้วส่วนที่สายส่งไฟฟ้ารองรับได้หรือผ่านข้อกำหนดทางเทคนิคการเชื่อมต่อโครงข่ายระบบไฟฟ้าของ กฟผ. และไม่ติดปัญหาที่ดิน จำนวน 25 โครงการ กำลังการผลิต 138 เมกะวัตต์ ที่ประชุมมีมติมอบให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ดำเนินการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) และกำกับการพัฒนาโครงการให้สามารถขายไฟฟ้าให้สามารถเข้าระบบภายในปี 2558 

          ทั้งนี้ ในส่วนที่โครงการที่ตอบรับซื้อไฟฟ้าแล้วส่วนที่สายส่งไฟฟ้ารองรับไม่ได้ หรือไม่ผ่านข้อกำหนดทางเทคนิคฯ หรือติดปัญหาที่ดินในกลุ่มโซลาร์ฟาร์มที่เหลือ 153 โครงการ ปริมาณเสนอขาย 875 เมกะวัตต์ พพ. จะทำหนังสือแจ้งผลการพิจารณาผู้ยื่นข้อเสนอโครงการให้สามารถย้ายที่ตั้งโครงการได้ โดยหากสามารถเปลี่ยนที่ตั้งโครงการได้แล้ว พพ. จะได้ทำหน้าที่เป็น One-Stop-Service ในการรับเรื่องและประสานงานกับการไฟฟ้าและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ ตรวจสอบพื้นที่โครงการตามขั้นตอนต่อไป และจะเร่งรัดดำเนินการเสร็จสิ้นภายในเดือน 31 มีนาคม 2558 เท่านั้น โดยการดำเนินการเกี่ยวกับทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าวจะมีรายงานให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ทราบต่อไป 

          “กระทรวงพลังงานได้เริ่มก้าวแรกในการทยอยปลดล๊อคโครงการโซล่าร์ฟาร์ม และพลังงานทดแทนทุกชนิด ที่ค้างการพิจารณาอยู่จำนวนมากจากมติ กพช. ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการให้โอกาสสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการที่มีความตั้งใจจริงที่จะร่วมกับกระทรวงพลังงาน ในการเดินหน้านโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนไปด้วยกัน จากนี้จะได้เร่งพิจารณาโครงการฯที่ติดปัญหาหลัก ๆ เช่นเรื่องการรองรับของสายส่ง พื้นที่ตั้งโครงการโดยเร็ว และจะได้มอบหมายให้การไฟฟ้าทั้ง 2 การ (กฟผ. และกฟภ.) เริ่มขั้นตอนของการทยอยทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าต่อไป” นายอารีพงศ์ กล่าว 

          นายอารีพงศ์ กล่าวเพิ่มว่า ภายในการประชุมฯ ได้มีการรายงานความคืบหน้าและพิจารณาหลักเกณฑ์และแนวทางดำเนินการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์การเกษตร รวม 800 เมกะวัตต์ และเบื้องต้นจะให้อยู่ในรูปแบบที่เปิดให้บริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) เข้ามาร่วมพัฒนาโครงการนั้น โดยหลักเกณฑ์ซึ่งได้มีการพิจารณาเพื่อคัดเลือกโครงการ ที่ประชุมฯ ได้กำหนดกรอบไว้อาทิ ให้มีการกำหนดพื้นที่และปริมาณการรับซื้อไฟฟ้า ณ จุดเชื่อมโยงในแต่ละเขตการให้บริการไฟฟ้า (Zoning) โดยพิจารณาจากความพร้อมในการรองรับโครงการของสายส่งและสายจำหน่ายไฟฟ้า ที่จะประกาศให้ทราบทั่วถึงก่อนรับข้อเสนอโครงการ 

          สำหรับแนวทางรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนต่อไปในอนาคตนั้น ได้มอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ Regulator ไปจัดระเบียบและบูรณาการ 3 การไฟฟ้า จัดให้มีขั้นตอนและบริการแบบ One-Stop-Service โดยคาดหวังว่า จะนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาช่วยพัฒนาให้ระบบการกำกับการรับซื้อไฟฟ้าให้มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และสามารถให้บริการแบบเบ็ดเสร็จแก่ประชาชนและผู้ประกอบการได้
undefined

ที่มาของข่าว: http://www.energy.go.th/moen/th/news/moen/vip-news/081257/

การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
     PHOTOVOLTAIC   OPERATION

     หลักการพื้นฐานของเทคโนโลยี
 

  >> เซลล์แสงอาทิตย์ หรือโซลาร์ เซลล์ (Solar Cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง เซลล์แสงอาทิตย์ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ ซึ่งดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยไฟฟ้าที่ได้จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง
   >> เซลล์แสงอาทิตย์ เป็นอุปกรณ์ผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงอื่นใดนอกจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานที่ได้เปล่า ไม่มีของเสียที่จะทำให้เกิดมลพิษขณะใช้งาน เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ ขณะทำงาน จึงไม่มีปัญหาด้านความสึกหรอ หรือต้องการการบำรุงรักษาเหมือนอุปกรณ์ผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบอื่นๆ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ด้วยน้ำมันดีเซล นอกจากนั้นเซลล์แสงอาทิตย์ยังมีน้ำหนักเบา จึงทำให้ได้อัตราส่วนระหว่างกำลังไฟฟ้าต่อน้ำหนักได้ดีที่สุด 
     ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน ประกอบด้วย แผงเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคา ภายในจะมีชุดแปรงกระแสไฟฟ้า (อินเวอร์เตอร์) โดยมีหลักการทำงานของระบบดังนี้
     1. เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมดจะผลิตกระแสไฟ้ฟ้าตรง ผ่านระบบควบคุมเข้าอินเวอร์เตอร์
     2. อินเวอร์เตอร์จะเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับจ่ายเข้าระบบไฟฟ้าภายในบ้าน
     3. ในช่วงที่ความเข้มของแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ หรือมีการใช้อุปกรณ์ที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงกว่ากำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์แล้ว ระบบก็จะนำกำลังไฟฟ้าส่วนขาดจากระบบจำหน่ายไฟ้ฟ้าแบบปกติของการไฟฟ้าฯ มาใช้เพื่อให้อุปกรณ์ไฟฟ้าสามารถทำงานได้

ประเภทของการใช้งาน
     ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน เหมาะสมกับผู้ที่ต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าเสริมกับระบบไฟฟ้าปกติภายในบ้าน

ประโยชน์ของเทคโนโลยี

     >> สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายให้กับการไฟฟ้าฯ โดยจะประหยัดค่าไฟฟ้าในส่วนที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ทดแทนการใช้ไฟปกติ
     >> ลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการผลิตไฟฟ้าด้วยรูปแบบอื่นเช่น การผลิตไฟฟ้าจากน้ำมัน หรือถ่านหิน ซึ่งเชื้อเพลิงเหล่านี้มีส่วนทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติทั้งสิ้น
     >> ส่งเสริม และปลูกจิตสำนึกให้รับรู้ถึ งเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่สะอาด รู้คุณค่าของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จริง และร่วมกันใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัด

ข้อพิจารณาในการนำมาใช้
     ลักษณะของบ้าน

     หลังคาบ้านที่ติดตั้งจะต้องมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะสามารถรองรับน้ำหนักของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้
     แหล่งพลังงาน
     ต้องไม่มีร่มเงามาบดบังทิศทางของแสงอาทิตย์ที่ส่องลงไปบนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้าน เพราะเซลล์แสงอาทิตย์ต้องใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้า

  
 



สภาพแวดล้อมและการออกแบบ


ปัจจัจสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ


วัสดุและระบบโครงสร้าง


เทคนิคการออกแบบห้องน้ำ


ระบบควบคุมอัตโนมัต


ทดสอบความรู้
 

 

Sunday, February 28, 2016

อาหรับ เริ่มหันมาใช้ระบบ พลังงานแสงอาทิตย์แทนน้ำมัน

เมืองมาสดาร์ ซิตี้ (Masdar City) ณ กรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี)
"มาสดาร์ ซิตี้ (Masdar City)" เมืองพลังงานหมุนเวียนแห่งอนาคต ตั้งอยู่แถบชานกรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) อาคารทั้งหมดในเมืองนี้ใช้ไฟฟ้าจากแผงโซลาร์รูฟท็อปที่ติดตั้งบนหลังคาอาคารเป็นพลังงานไฟฟ้าหลัก โดยทั้งโครงการนี้ได้วางเป้าให้เปิดตัวเต็มรูปแบบภายในปี ค.ศ. 2016 เพื่อรองรับการอยู่อาศัยของประชากรราว 40,000 คน และอีก 50,000 คน ที่คาดว่าจะเดินทางเข้าออกเมืองในแต่ละวัน เรียกว่าเป็นเมืองต้นแบบให้กับเมืองอื่นๆ ของโลกเลยครับ

โซลาร์รูฟท็อปคืออะไร

ร้อนนี้ อยากประหยัดไฟ! ติด "โซลาร์รูฟท็อป" (Solar Rooftop) จะดีไหม?

เดี๋ยวนี้อากาศเปลี่ยนแปลงเร็วมากครับ ในหลายๆ พื้นที่ตอนนี้คงกำลังเริ่มเข้าสู่หน้าร้อนกันบ้างแล้ว ยิ่งอากาศร้อนก็ยิ่งทำให้ในแต่ละวันเราต้องใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ในประเทศต่างๆ ที่มีแสงแดดจัดจึงได้มีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า ที่เรียกว่า เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) เพื่อทดแทนการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบเดิม โดยผลักดันให้มีการนำ Solar Cell มาติดตั้งบนหลังคาบ้านที่อยู่อาศัย และบนอาคารต่าง ๆ หรือที่มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "โซลาร์รูฟท็อป" (Solar Rooftop) เพื่อให้บ้านทุกหลังที่ติดตั้งได้ทำการผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เองในเวลากลางวัน เป็นการประหยัดไฟฟ้าและลดภาวะโลกร้อนไปด้วย อีกทั้งยังมีการส่งเสริมให้นำไฟฟ้าที่เหลือส่งต่อขายให้กับหน่วยงานของรัฐอีกด้วยครับ
สำหรับประเทศไทยของเรา เวลานี้โซลาร์รูฟท็อปกำลังเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเช่นกันครับ วันนี้ ทีมงาน Checkraka.com จะขอพาทุกคนไปหาคำตอบด้วยกันว่า "โซลาร์รูฟท็อป" นั้น มีข้อดีอย่างไร เหตุใดทั่วโลกถึงได้ผลักดันให้นำขบวนการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบดังกล่าวมาใช้งาน รวมไปถึงหากมีท่านใดที่สนใจ จะมีหน่วยงานใดรับติดตั้งให้หรือเปล่า? เราไปหาคำตอบเหล่านี้ด้วยกันเลยครับ
โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) คืออะไร?
โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) คือ ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้านที่อยู่อาศัย หรือบนอาคารต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ที่สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ หรือส่งขายไฟฟ้าในราคาพิเศษคืนให้กับหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรการการส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ของกระทรวงพลังงาน (คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)

ตัวอย่างโซลาร์รูฟท็อปที่ติดตั้งอยู่บนหลังคาบ้าน
โดยหลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อปนั้น จะมีแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) คอยรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ แล้วแปรเปลี่ยนให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ชนิดเชื่อมต่อกับสายส่ง แล้วแปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ให้เป็นไฟกระแสสลับสำหรับการใช้งาน โดยที่จะมีตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (MDB) ทำหน้าที่ในการควบคุมและจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ภายในบ้าน จึงทำให้เราได้กระแสไฟฟ้าที่พร้อมใช้งานให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ทีวี พัดลม ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ

ภาพแสดงหลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อป
การใช้ไฟฟ้าจาก "โซลาร์รูฟท็อป" ในบางประเทศเป็นเรื่องปกติไปแล้ว
จากกระแสการตื่นตัวกับสภาวะโลกร้อน และลดภาระจากการใช้เชื้อเพลิง "โซล่าร์รูฟท็อป" จึงได้รับความนิยมจากนานาประเทศมาอย่างยาวนาน เพราะนอกจากจะเป็นพลังงานที่สามารถนำมาหมุนเวียนผลิตไฟฟ้าได้ต่อเนื่องไม่มีวันหมดแล้ว ยังไม่ก่อให้เกิดมลภาวะใดๆ ที่ส่งผลเสียต่อโลกอีกด้วย คราวนี้เราลองมาดูกันครับว่า มีประเทศไหนบ้างที่มีการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป และแต่ละประเทศสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้งานได้ทั้งหมดเท่าไหร่?

เมืองมาสดาร์ ซิตี้ (Masdar City) ณ กรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี)
"มาสดาร์ ซิตี้ (Masdar City)" เมืองพลังงานหมุนเวียนแห่งอนาคต ตั้งอยู่แถบชานกรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) อาคารทั้งหมดในเมืองนี้ใช้ไฟฟ้าจากแผงโซลาร์รูฟท็อปที่ติดตั้งบนหลังคาอาคารเป็นพลังงานไฟฟ้าหลัก โดยทั้งโครงการนี้ได้วางเป้าให้เปิดตัวเต็มรูปแบบภายในปี ค.ศ. 2016 เพื่อรองรับการอยู่อาศัยของประชากรราว 40,000 คน และอีก 50,000 คน ที่คาดว่าจะเดินทางเข้าออกเมืองในแต่ละวัน เรียกว่าเป็นเมืองต้นแบบให้กับเมืองอื่นๆ ของโลกเลยครับ

ชุมชนพลังงานแสงอาทิตย์ ณ เมืองไฟร์บวร์ก ประเทศเยอรมนี
เมืองไฟร์บวร์ก (Freiburg) ประเทศเยอรมนี ได้มีการจัดตั้ง "Solar Settlement" หรือ "ชุมชนพลังงานแสงอาทิตย์ต้นแบบ" โดยอาคารทุกหลังมีการติดตั้งแผงโซลาร์รูฟท็อป ไว้บนหลังคาเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้ชุมชนแห่งนี้สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 420,000 กิโลวัตต์/ชั่วโมง และคิดเป็นพลังงานที่ส่งออกสูงสุดต่อปีถึง 445 กิโลวัตต์ เมื่อคำนวณแล้วจะเห็นได้ว่าชุมชนแห่งนี้สามารถลดการใช้พลังงาน เมื่อเทียบกับน้ำมันถึง 200,000 ลิตร และลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 500 ตัน

การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปในประเทศญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่น ประชาชนต่างให้ความร่วมมือในการหันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนพลังงานนิวเคลียร์แบบเดิม ซึ่งผลจากการร่วมมือกันพบว่าสามารถผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง 4,000 เมกะวัตต์ เทียบเท่ากับเตาปฏิกรณ์ไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 4 โรง อีกทั้งรัฐบาลยังมีนโยบายในการรับซื้อไฟฟ้าจากบ้านของประชาชนในราคาสูงที่กว่าไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติถึง 3 เท่าเลยทีเดียว
"โซลาร์รูฟท็อป" เหมาะสำหรับประเทศไทยของเราหรือไม่ ?
สำหรับประเทศไทยของเราเองนั้น ลักษณะภูมิประเทศตั้งอยู่ในโซนที่มีความเข้มของแสงอาทิตย์ที่ค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี จึงเหมาะกับการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้าเป็นอย่างมากครับ ตัวอย่างเช่น โครงการ Green Canal เขาใหญ่ ที่ว่ากันว่าเป็นโครงการแรกในประเทศไทยที่นำโซลาร์รูฟท็อปมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้บริหารส่วนกลางของโครงการ
ด้วยเหตุนี้ทางรัฐบาลของไทยจึงได้ผลักดันให้มีการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปได้อย่างเสรี เพื่อให้ประชาชนสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าใช้เอง ลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิง และนำพลังงานที่เหลือไปจำหน่ายให้แก่รัฐเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน โดยมีการตั้งเป้าไว้ว่า ในช่วง 5 ปีแรก (ระหว่างปี 2558 - 2563) ประเทศไทยจะสามารถติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป สำหรับบ้านอยู่อาศัย ขนาดไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ ประมาณ 1 แสนครัวเรือน สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 500 เมกะวัตต์ และในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า จะขยายการติดตั้งเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านชุด ซึ่งก็จะทำให้มีกำลังในการผลิตไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 5,000 เมกะวัตต์
ติดแล้วดีอย่างไร? คุ้มหรือไม่กับการติดตั้ง?
แล้วจะหาซื้อได้ที่ไหน หากสนใจจะมีหน่วยงานใดรับติดตั้งให้หรือเปล่า ?
ปัจจุบัน บริษัท โปรคิวร์เมนต์ เซนเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท วัฒนาสุข เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ผู้ติดตั้งและจัดจำหน่ายระบบพลังงานแสงอาทิตย์ชั้นนำของไทย มีบริการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปที่มาพร้อมกับแผง Solar Cell ที่ได้มาตรฐานในระดับสากล และ Inverter ที่ผ่านการรับรองจากการไฟฟ้านครหลวง (MEA) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ให้เราสามารถเลือกได้ตามแพคเกจ ตามมูลค่าการลงทุน และผลตอบแทนที่ได้รับ 
ตัวอย่างแพคเกจสำหรับการติดตั้ง*
ทั้งนี้ การส่งขายไฟให้กับหน่วยงานของรัฐนั้น เราจำเป็นที่ต้องยื่นแบบคำขอขายไฟฟ้าและต้องเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าตามในระเบียบของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) (คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม) ซึ่งในขณะนี้หน่วยงานของรัฐ อย่างเช่น การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้เปิดให้ยื่นแบบคำขอจำหน่ายไฟฟ้า เฟสที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 ก.พ. - 30 มิ.ย. 2558 โดยตั้งราคาการรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์รูฟท็อป อยู่ที่ 6.85 บาทต่อหน่วย เป็นระยะเวลา 25 ปี (คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)
นอกจากนี้แล้ว ในแต่ละแพคเกจยังมีบริการสำรวจพื้นที่ในการติดตั้ง สำรวจความแข็งแรงของโครงสร้างหลังคาในการรับน้ำหนักโดยช่างผู้เชี่ยวชาญ ให้เรามั่นใจได้เลยว่าจะต้องคุ้มค่า ปลอดภัย ทุกตารางเมตร ทุกพื้นที่บนหลังคา และมีบริการตรวจเช็คระบบโซลาร์รูฟท็อปให้ฟรีในตลอดระยะเวลา 2 ปี นอกจากนี้ยังมีบริการจัดและยื่นเอกสารในการขายไฟฟ้าให้กับทางหน่วยงานของรัฐอีกด้วย
หมายเหตุ
  • การคำนวณปริมาณหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ขั้นต่ำ/ปี ใช้สมมติฐานความเข้มแสงอาทิตย์สูงสุดที่ 4 ชม./วัน
  • สมมติฐานการคำนวณการคืนทุนใน 8 ปี เป็นการคำนวณจากกำลังการผลิตที่ 10 KW
  • สมมติฐานคำนวณการประหยัดไฟฟ้าได้ภายใน 25 ปี คำนวณจากอัตราค่าไฟฟ้า 5 บาท/หน่วย และปรับเพิ่มร้อยละ 5 ต่อปี
  • ปริมาณหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ขั้นต่ำ/ปี และค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้อาจแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น ภูมิอากาศ,มุมองศา,การถูกบดบัง, พื้นที่ติดตั้ง
ตัวอย่างผลงานการติดตั้ง
เห็นแบบนี้แล้ว หากท่านใดสนใจอยากจะติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปบนหลังคาบ้าน คงมั่นใจได้ว่าการติดตั้งจะไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไปแล้วครับ เพราะในปัจจุบัน มีบริการติดตั้งให้กับเราตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ตั้งแต่สำรวจพื้นที่ในการติดตั้งไปจนถึงการยื่นเอกสารให้กับหน่วยงานของรัฐ แถมยังมีระยะเวลาในการใช้งานที่ยาวนาน สามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาเพียงแค่ 8 ปี เรียกว่าได้ทั้งไฟฟ้าฟรี ได้ทั้งรายได้จากการขายไฟให้กับหน่วยงานของรัฐ แถมยังได้ช่วยรักษาให้โลกใบนี้ของเราให้น่าอยู่ไปอีกนานด้วยครับ
ข้อมูลจาก checkraka.com

วิดิโอเกี่ยวกับ "โซลาร์เสรี"



โครงการของการไฟฟ้านครหลวง ที่รับซื้อพลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์ 2,000 หลัง ช่วยเพิ่มรายได้ และเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของพลังงานสะอาด



ถ้ามองเรื่องความคุ้มทุนเพื่อขายต่อ คงต้องคำนึงถึงวิธีติดตั้ง และค่าวัสดุอุปกรณ์ แต่ถ้ามองถึงการพึ่งพาตัวเองด้วยพลังงานทา­งเลือก โซลาร์เซลล์น่าจะตอบโจทย์ได้ไม่น้อย เพราะพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานได้เปล่­า และเป็นพลังงานสะอาด



ติดตั้งโซล่าเซล ระบบออนกริด 5000w.ใช้แผง280w.22แผงอินเวอร์เตอร์5000w­.ประหยัดค่าไฟได้เดือนละประมาณ3500-5000บา­ทอยู่ที่แสงแดดและต้องไม่มีเงามาบัง



แม้พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์เซลล์ จะเป็นพลังงานเสริมกำลังผลิตไฟฟ้า แต่ประเทศไทยก็นับว่ามีศักยภาพการผลิต โดยปัจจุบัน ไทยมีโซลาร์ฟาร์มที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ภาคเอกชนจึงยังแสวงหาโอกาสการลงทุน แต่ภาครัฐก็ต้องมีแนวทางที่ชัดเจนในการสนั­บสนุน
 

โซลาร์เสรีคืออะไร


โซลาร์เสรีคืออะไร

อธิบายให้เข้าใจได้โดยง่ายคือ ระบบโซลาร์รูฟเป็นการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ติดตั้งอยู่บนหลังคาของบ้านและอาคาร ผู้ติดตั้งสามารถใช้ไฟฟ้าที่ตัวเองผลิตได้ ช่วยลดปริมาณไฟฟ้าที่ซื้อจากการไฟฟ้า ทำให้ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า ขณะเดียวกันปริมาณไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้ ยังขายให้แก่การไฟฟ้าเพื่อเป็นรายได้เสริมได้อีก

มีการคาดการร์ว่า ช่วง 5 ปีแรก คือปี 2558-2563 จะมีโซลาร์รูฟ ขนาดไม่เกิน10 กิโลวัตต์ สำหรับบ้านอยู่อาศัยเกิดขึ้น 1 แสนชุดมีกำลังการผลิต 500 เมกะวัตต์ และในอนาคต 20 ปี จะมีการติดตั้ง 1 ล้านชุด มีกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 5,000 เมกะวัตต์ หากรัฐบาลส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์อย่างครบวงจรแล้ว ประเทศไทยจะก้าวเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ของอาเซียนใน 10 ปีข้างหน้า


สนใจ..... ติดตาม "โซลาร์เสรี" ต่อไป.......
คุณได้มีโอกาสได้ใช้ไฟฟรีที่บ้าน แน่ๆ..........